คลินิคนิรนาม

Posted on วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 by Athi's PHA

คลินิคนิรนามในกรุงเทพ

•โรงพยาบาลบางรัก โทร 286-0431, 286-0108

•สถานกามโรคและโรคเอสด์นางเลิ้ง โทร 281-0657

•สถานกามโรคและโรคเอดส์บ้านชีวี โทร 245-7194

•สถานกามโรคและโรคเอดส์บางเขน โทร 521-0819

•สถานกามโรคและโรคเอดส์พระปิ่นเกล้า โทร 468-0116-20 ต่อ 2662

•สถานกามโรคและโรคเอดส์ภาษีเจริญ โทร 467-4345

•สถานกามโรคและโรคเอดส์ท่าเรือ โทร 249-5754, 249-2141

•สถานกามโรคและโรคเอดส์วชิระ โทร 243-0151 ต่อ 2631

•คลินิคนิรนามโรงพยาบาลบำราศนราดูร โทร 588-4916, 588-3116 ต่อ 314

•คลินิคเพื่อสุขภาพ กองควบคุมโรคเอดส์ กรุงเทพมหานคร โทร 224-0218-9

•คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย โทร 256-4108-9

•โรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุขของรัฐบาล







คลีนิคนิรนามในต่างจังหวัด

•สำนักงานควบคุมโรคติดต่อ

•ศูนย์กามโรคและโรคเอดส์

•สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

•หน่วยกามโรคและโรคเอดส์

•โรงพยาบาลศูนย์ หรือทั่วไป (โรงพยาบาลประจำจังหวัด)

•โรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลประจำอำเภอ)







บริการปรึกษาทางโทรศัพท์

•กองควบคุมโรคเอดส์ กรุงเทพมหานคร โทร 224-0218-9

•มูลนิธิฮอทไลน์ โทร 276-2950-1

•มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (เวลา 16.00 - 21.00 น. ) โทร 245-0004-5

•สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย โทร 579-1665, 579-2231







“ โทรด่วนจี๋ ”

•เหตุด่วนเหตุร้าย โทร 123, 191 โทร 246-1338-42

•รถพยาบาล โทร 252-2171-5

•รถดับเพลิง โทร 199, 2469-0199, 245-5352







“ หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ ”

•สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน

8 สุขุมวิท 12 กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 256-0080-97


•โครงการโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลีนิคนิรนาม)

1871 ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร 10330

โทร. 256-4180-4180, 250-8181-9 ต่อ 4107-9


•องค์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสาธารณสุข (PATH)

1339 ประชาราษฎร์ 1 บางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

โทร. 587-2001-2 Fax 587-5125


•โครงการบ้านพักใจ ตู้ ปณ. กลาง 2878

บางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 โทร. 233-3073 Fax 236-0207


•โครงการเข้าถึงเอดส์ (ACCESS)

61/68 ซอยทวีมิตร 8 ถนนพระราม 9 กรุงเทพมหานคร 10310

โทร. 245-0004-5 Fax 247-7488


•กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000


•ศูนย์พิทักษ์สิทธิหญิงบริการ (Empower)

9/12 ซอยพิพัฒน์ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร 10500

โทร. 234-0398, 234-3078


•สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

315 ตึกมหิดล ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร 10400

โทร. 245-5638, 246-1457-67 Fax 247-6279


•สมาคมทำหมันแห่งประเทศไทย

101 ถนนพระปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงฉิมพลี ตลิ่งชัน

กรุงเทพมหานคร 10170 โทร. 448-6563


•โครงการนามชีวิต

อาคารบ้านตึก 57/60 ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000

โทร. 525-2292


•กลุ่มภราดรภาพยับยั้งโรคเอดส์แห่งประเทศไทย (FACT)

98/22 หมู่ 2 ซอยมีสุข ถนนวิภาวดีรังสิต ต.ทุ่งสองห้อง

ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 574-3461, 574-1100


•มูลนิธิดวงประทีป

ล๊อค 6 ถนนอาจณรงค์ คลองเตย พระโขนง กรุงเทพมหานคร 10110

โทร. 249-3553, 249-4880, 249-8842 Fax 249-5254


•กลุ่มสื่อสายใย

49 ซอย 57 การเคหะแห่งชาต คลองจั่น บางกะปิ

กรุงเทพมหานคร 10240 Fax 377-2172


•องค์การ Catholic Relief Services (CRS)

33/7 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร 10330

โทร. 252-4829 Fax 252-4832







สถานบริการตรวจเลือดโรคเอดส์

Posted on by Athi's PHA

โรงพยาบาลทั้งของรัฐบาลและเอกชน หรือหน่วยงานที่มีห้องปฎิบัติการตรวจวินิจฉัยสำหรับการติดเชื้อไวรัสเอดส์






การตรวจขั้นต้น 150 แห่ง






1.สถานพยาบาลและหน่วยงานของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ทำการตรวจขั้นต้นการติดเชื้อ
เอดส์ มี 21 แห่ง



1.กองกามโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ

2.โรงพยาบาลบำราศนราดูร

3.โรงพยาบาลโรคทรวงอก

4.โรงพยาบาลราชวิถี

5.โรงพยาบาลศิริราช

6.โรงพยาบาลรามาธิบดี

7.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

8.โรงพยาบาลธัญญารักษ์

9.โรงพยาบาลวชิระ

10.โรงพยาบาลตากสิน

11.โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า

12.โรงพยาบาลตำรวจ

13.โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

14.โรงพยาบาลชลประทาน

15.โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

16.กองวัณโรค

17.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

18.โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

19.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

20.โรงพยาบาลเลิดสิน

21.โรงพยาบาลนิติจิตเวช





2.สถานพยาบาลและหน่วยงานของเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่ทำการตรวจขั้นต้นหาการติดเชื้อเอดส์ มี 21 แห่ง ได้แก่



1.โรงพยาบาลเดชา

2.โรงพยาบาลเปาโล

3.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

4.โรงพยาบาลกรุงเทพ

5.โรงพยาบาลพญาไท 1

6.โรงพยาบาลสมิติเวช

7.โรงพยาบาลเทพธารินทร์

8.ศูนย์บรินาจโลหิต สภากาชาดไทย

9.โรงพยาบาลสยาม

10.โรงพยาบาลวิภาวดี

11.โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์

12.Special Lab 20 / 8-9 ซอยร่วมฤดี ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร 10330

13.STD Clinic 1439 ปากซอย 65 ถนนสุขุมวิท พระโขนง กรุงเทพมหานคร

14.RIA 3850 ถนนพระราม 4 อาคารเทพธารินทร์ พระโขนง กรุงเทพมหานคร 10110

15.ศูนย์อิมมูโน ถนนสุโขทัย พระโขนง กรุงเทพมหานคร 10110

16.โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

17.โรงพยาบาลมิตรภาพ

18.โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์

19.โรงพยาบาลสุขุมวิท

20.กรุงเทพเมดิคอลแลป 522/59 สี่แยกสะพานควาย ถนนพหลโยธิน พญาไท
กรุงเทพมหานคร 10400

21.คลีนิคสุขภาพคลองตัน



3.สถานพยาบาลและหน่วยงานของรัฐในส่วนภูมิภาค ที่ทำการตรวจขั้นต้นหาการติดเชื้อเอดส์ มี 102 แห่ง ได้แก่



1.โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 86 แห่ง ได้แก่
โรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่ง และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง ยกเว้น



1.โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 สุพรรณบุรี

2.โรงพยาบาลเชียงคำ พะเยา

3.โรงพยาบาลเสนา พระนครศรีอยุธยา



2.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค 3 แห่ง



1.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



3.ศูนย์กามโรคและโรคเอดส์เขต ทุกเขต ( นนทบุรี สระบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น
อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และ สงขลา )

4.ศูนย์วัณโรคเขตอุบลราชธานี และพิษณุโลก รวม 2 แห่ง

5.อื่น ๆ



1.โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี

2.งานกามโรค ฝ่ายโรคติดต่อของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์





4.สถานพยาบาลและหน่วยงานของเอกชนในส่วนภูมิภาค ที่ทำการตรวจขั้นต้นหาการติดเชื้อเอดส์ มี 5 แห่ง ได้แก่



1.โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

2.โรงพยาบาลศรีกริมหรือโรงพยาบาลเอราวัณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

3.โรงพยาบาลเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

4.โรงพยาบาลพิษณุเวช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

5.โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย








หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบยืนยันผลบวก 17 แห่ง






1.กองกามโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

2.โรงพยาบาลบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

3.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

4.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

5.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

7.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

8.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

9.โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กองทัพบก กระทรวงกลาโหม

10.โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์

11.โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

12.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 1 ถึง 6 (สงขลา ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น
เชียงใหม่ และพิษณุโลก)






การป้องกันสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ (ในการแพร่ไปสู่ผู้อื่น)

Posted on by Athi's PHA

ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ควรปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ดังนี้




1.สามารถคบหาสมาคมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ไม่จำเป็นจะต้องหลบซ่อนหรือเก็บตัวอยู่แต่คนเดียว การพูดคุย

แตะเนื้อต้องตัวกันตามปกติธรรมดา ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นติดโรคไปจากท่านได้และโรคนี้ไม่ติดต่อทาง

ลมหายใจ

2.ควรจะระมัดระวังน้ำหลั่งต่าง ๆ ของท่าน เช่น น้ำมูก น้ำลาย น้ำเหลืองจากแผล ปัสสาวะและสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ

มิให้กระเด็น หรือเปรอะเปื้อนไปถูกผู้อื่น เพราะสิ่งเหล่านี้อาจมีเชื้อโรคเอดส์ปะปนออกมาได้ การบ้วนน้ำลาย

หรือเสมหะ รวมทั่งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วควรจะใส่ในภาชนะให้เป็นที่เป็นทางสามารถนำเอาไปทิ้ง หรือทำ

ความสะอาดได้สะดวก

3.เมื่อร่างกายเปรอะเปื้อนเลือด น้ำเหลือง อาเจียน ปัสสาวะ หรือสิ่งขับถ่ายอื่น ๆ ให้รีบทำความสะอาดด้วยตนเอง

และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใช้แล้วควรนำไปต้มแล้วซักให้สะอาดผึ่งแดดให้แห้งหรืออบรีด ก่อนนำไปใช้ต่อไป

4.สามารถใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่นได้ แต่ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ อาเจียน

เปรอะเปื้อพื้น โถส้วม อ่างล้างมือ ควรจะล้างด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างห้องน้ำ (ที่มีส่วนผสมของ chlorox

อยู่ด้วย) เป็นประจำทุกวันถ้าเป็นไปได้ และล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำเสมอ

5.ถ้วยชาม จานแก้วน้ำ ควรล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจานหรือลวกด้วยน้ำร้อน แล้วทิ้งไว้จนแห้งก่อนนำไปใช้ต่อไป

หรือถ้าเป็นไปได้จะแยกใช้เป็นของส่วนตัวก็จะเป็นการดี

6.ไม่ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน มีดโกนไฟฟ้า กรรไกรตัดเล็บ หรือของมีคมอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดบาดแผลได้ร่วมกับผู้อื่น


7.ควรใช้กระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จามทุกครั่ง

8.ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ถ้าจำเป็นก็อาจจะใช้วิธีสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือสำเร็จความใคร่

ให้แก่กันและกันโดยมือของคู่นอน (Mutual Masturbation) หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั่งเสมอ (ต้องศึกษาการใช้

ให้ถูกต้องด้วยจึงจะปลอดภัยจริง) และควรงดการร่วมเพศทางปาก ทางทวารหนักโดยเด็ดขาด ระมัดระวัง

ในการจูบกันอย่าให้น้ำลายไปเข้าปากผู้อื่น

9.ต้องงดบริจาคโลหิต อวัยวะอื่น ๆ เช่น ดวงตา ไต น้ำอสุจิ ให้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด

10.ควรจะทราบว่าถ้าท่านมีบุตร บุตรของท่านมีโอกาสติดโรคจากท่านได้มาก โดยเฉพาะถ้าท่านเป็นผู้หญิง จึงสมควร

ทำหมันเสียเป็นการถาวรเพื่อท่านจะได้ไม่ต้องมาเสียใจกับบุตรของท่านภายหลัง

11.ไม่ควรไปเยี่ยมเยียน หรือเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เพราภูมิต้านทานโรคในร่างกายของท่านต่ำกว่าคนอื่น ท่านมี

โอกาสจะติดเชื้อโรคได้ง่าย

12.ไม่ควรดูแลสัตว์เลี้ยงหรือทำความสะอาดกรงสัตว์ เพราะท่านอาจติดเชื้อฉวยโอกาสจากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ได้

13.ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด ควรเลิกเสีย ถ้าไม่สามารถเลิกได้จริง ๆ หรืออยู่ในระหว่างการรักษาเพื่อเลิกยากเสพติด

เหล่านี้อาจเปลี่ยนจากวิธีฉีดเป็นการสูบหรือรับประทานแทน หากจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ไม่ควรใช้เข็มและ

กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด

14.ควรติดต่อกับแพทย์ผู้ดูแลรักษาโดยใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด





การป้องกันสำหรับกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

Posted on by Athi's PHA

การสำส่อนและการขายบริการทางเพศ




1.งดหรือลดการสำส่อนทางเพศลง

2.เลิกอาชีพเพศพาณิชย์ และหันไปประกอบสัมมาชีพอื่น

3.ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะร่วมเพศ ซึ่งรวมถึงการร่วมเพศทางปากและการร่วมเพศกับคู่ครองของตัวเองด้วย

ถ้าตัวเองมีอาชีพเพศพาณิชย์

4.เลือกใช้ถุงยางอนามัยที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน และใช้ให้ถูกวิธี ควรเป็นถุงยางอนามัยชนิดเคลือบน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส

(nonoxynol-9 หรือ nonoxynol-11 )

5.ห้ามใช้น้ำมันหรือโลชั่นต่าง ๆ ในการหล่อลื่นถุงยางเพราะน้ำมันจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพ ควรใช้น้ำยา

หล่อลื่นชนิดที่ละลายน้ำได้ เช่น K-Y หรือ J-L แทน อย่างปฏิบัติ dry sex

6.ปฏิเสธการให้บริการทางเพศ แก่ผู้มาใช้บริการ ที่ไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย หรือ ให้ อย่างอื่น แทนการร่วมเพศ

ทั้งนี้ต้องเป็นนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบและสั่งการจากเจ้าของกิจการ

7.> รักษาโรคติดเชื้อจากการร่วมเพศ (sexually transmitted disease) ให้หายก่อนการร่วมเพศครั้งต่อไป

8.ไม่มีเพศสัมพันธ์แบบโลดโผน ที่อาจทำให้เกิด injury ต่อเยื่อบุและผิวหนังของคู่นอน






สำหรับผู้เสพยาเสพติดชนิดฉีด




1.เลิกเสพยา หรือปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการรักษาเพื่อถอนยาและ
เลิกยา

2.ถ้าเลิกเสพไม่ได้ ก็เปลี่ยนไปเสพโดยการใช้วิธีที่ไม่ใช่เป็นการฉีดหรือเปลี่ยนไปติดยาอื่นแทน เช่น ยาเมธาโตนชนิด

รับประทาน เป็นต้น

3.ถ้ายังจะฉีดยาอยู่ ก็ให้ใช้เข็มและกระบอกฉีดยาใหม่ทุกครั้ง

4.ห้ามใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ถ้าจะใช้ร่วมกับผู้อื่น ให้ทำความสะอาดเข็มและกระบอกฉีดยาโดยการต้ม

หรือดูดล้างด้วย Alcohol 70 % หรือ Chlorox หลาย ๆ ครั้งก่อนใช้

5.ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะร่วมเพศกับผู้อื่น แม้กระทั่งคู่ครองของตัวเองในกรณีที่สงสัยว่าคู่ครองของตน

ติดเชื้อเอดส์

6.ก่อนจะมีบุตร ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อเอดส์ก่อน






การป้องกันสำหรับคนทั่วไป

Posted on by Athi's PHA

สำหรับประชาชนทั่วไป






ประชาชนทั่ว ๆ ไป ไม่ควรตื่นตระหนกต่อการติดโรคเอดส์จนมากเกินไป
เพราะโรคเอดส์มิได้ติดต่อกันได้ง่าย ๆ แต่ติดต่อเพราะพฤติกรรม หรือ
การกระทำบางอย่างของตัวเอง จึงสามารถป้องกันได้ ถ้ามีการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง หรือเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ดังนั้น
ประชาชนทั่ว ๆ ไป จึงควรรู้จักวิธีที่จะป้องกันตนเอง ป้องกันลูกหลาน
และญาติสนิทมิตรสหายให้ปลอดภัยจากภัยของโรคเอดส์ได้ดังต่อไปนี้



1.รักษาศีล 5 ให้มั่น ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่เสพยาเสพติด

2.เปลี่ยนค่านิยมจากความฟุ้งเฟ้อทางด้านวัตถุ และสิ่งยั่วยุภายนอกมาเป็นค่านิยมทางด้านจิตใจ

และการยึดถือคุณธรรม

3.อบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้มีความอบอุ่น และมีค่านิยมที่ถูกต้องไม่ลุ่มหลงในอบายมุข ไม่ผิดเพศ

เปลี่ยนค่านิยมของหมู่วัยรุ่นที่ว่าเกิดเป็นชายต้องสูบบุหรี่ และเที่ยวผู้หญิง หรือเปลี่ยนทัศนคติของคนในบางกลุ่ม

บางท้องที่ที่ว่าการที่ลูกสาวของตนไปขายตัวสักระยะหนึ่ง เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัวมิได้เป็นสิ่งที่น่าเสียหาย

อะไร เป็นต้น

4.ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และวิธีป้องกันแก่คนในทุกสังคมอย่าง
ต่อเนื่อง ตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน และสถานทีทำงาน เพื่อให้ซึมซาบเข้าไปในความรู้สึก
นึกคิดของแต่ละบุคคลโดยอัตโนมัติ และนำไปปฏิบัติจริง ๆ

5.ไม่สำส่อนทางเพศ ถ้าจะมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต้องใส่
ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และต้องไม่ทำให้ภาวะมีนเมา

6.ไม่เป็นชายรักร่วมเพศ ถ้าเป็นแล้วก็อย่าสำส่อนและถ้าจะสำส่อนบ้างก็ต้อง
หาทางป้องกันโดยใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

7.ไม่ติดยาเสพติด และห้ามลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด

8.ไม่ร่วมเพศด้วยวิธีการใด ๆ ที่นำไปสู่การมีเลือดออกแม้เพียงเล็กน้อย เช่น การร่วมเพศอย่างรุนแรง

(Sadist หรือ Soda-Masochistic practice)

9.ไม่ใช้เครื่องมือช่วยในการร่วมเพศ เช่น อวัยวะเทียม (Deldos หรือ Vibrator) ร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่

คู่นอนของตนเอง ในกรณีที่ใช้เครื่องมือร่วมเพศกับคู่นอนของตนก็จะต้องไม่ทำรุนแรงจนมีเลือดออก

10.ไม่ร่วมเพศกับผู้ที่ติดยาเสพติด โดยเฉพาะผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีด

11.สตรีที่ตั้งครรภ์ที่คิดว่าตัวเองหรือคู่สมรสมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ ควรปรึกษาแพทย์

เพื่อตรวจเลือดเอดส์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ ๆ และวางแผนครอบครัว

12.การเลือกคู่ครองต้องเลือกให้ดี ๆ เช่น ต้องไม่ใช่ผู้ที่ชอบสำส่อนทางเพศ ต้องไม่ติดยาเสพติด

หรือถ้าเป็นชายก็ต้องเป็นชายที่ไม่ใช่รักสองเพศ ควรได้ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน หรือก่อน

การมีเพศสัมพันธ์กัน และเมื่อแต่งงานกันแล้วจะต้องซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสของตัวเองตลอดไป

13.เจ้าของกิจการต่าง ๆ ที่อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อเอดส์ได้ควรให้ความร่วมมือในการป้องกันการแพร่

ระบาดของเชื้อเอดส์ไปสู่ผู้รับบริการ เช่น สถานเริงรมย์ และสถาน
เสริมสวย เป็นต้น

14.มีความเห็นใจ สงสาร ให้กำลังใจและให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อเอดส์แล้ว เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ

เคราะห์กรรมเหล่านี้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
ขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบต่อครอบครัวเขาลง ถ้าสังคมไปรังเกียจหรือกีดกันคนเหล่านี้ เขาอาจเกิด
ความเกลียดสังคมเป็นการตอบแทน และทำการแก้แค้นสังคมซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้






หลักการป้องกันโรคเอดส์

Posted on by Athi's PHA

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี มีหลักการใหญ่ ๆ ดังนี้
คือ


1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโดยงดการส่ำส่อนทางเพศ หรือโดยการใช้ถุงยางอนามัย

2. การตรวจคัดเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด

3. การคัดกรองผู้บริจาคอวัยวะและอสุจิที่จะใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะและการผสมเทียม

4. ควบคุมการฉีดยาเสพติดให้โทษ หรืองดการใช้อุปกรณ์การฉีดร่วมกัน

5. ป้องกันการติดเชื้อของทารกโดยการคุมกำเนิด มิให้มีการตั้งครรภ์ในกรณีที่บิดามารดาเป็นพาหะของโรค หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง

6. มาตรการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ที่บริบาลผู้ป่วยเอดส์ หรือดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ลักษณะต่าง ๆ

7. การให้สุขศึกษาให้มีความรู้เรื่องโรคเอดส์

8. มาตรการทางกฎหมาย

9. การค้นหาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

10. การใช้วัคซีนป้องกันโรค



สำหรับวัคซีนที่จะใช้ป้องกันโรคนั้น ขณะนี้ยังมีอุปสรรคในการพัฒนาวัคซีนที่จะนำไปใช้ได้
เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด คือการงดพฤติกรรมเสี่ยงทุกชนิดและไม่ตั้งตัวอยู่ในความประมาท
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์จะต้องไม่รีบร้อน ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยหรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย







หลักการป้องกันโรคเอดส์

Posted on by Athi's PHA

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี มีหลักการใหญ่ ๆ ดังนี้
คือ


1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโดยงดการส่ำส่อนทางเพศ หรือโดยการใช้ถุงยางอนามัย

2. การตรวจคัดเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด

3. การคัดกรองผู้บริจาคอวัยวะและอสุจิที่จะใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะและการผสมเทียม

4. ควบคุมการฉีดยาเสพติดให้โทษ หรืองดการใช้อุปกรณ์การฉีดร่วมกัน

5. ป้องกันการติดเชื้อของทารกโดยการคุมกำเนิด มิให้มีการตั้งครรภ์ในกรณีที่บิดามารดาเป็นพาหะของโรค หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง

6. มาตรการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ที่บริบาลผู้ป่วยเอดส์ หรือดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ลักษณะต่าง ๆ

7. การให้สุขศึกษาให้มีความรู้เรื่องโรคเอดส์

8. มาตรการทางกฎหมาย

9. การค้นหาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

10. การใช้วัคซีนป้องกันโรค



สำหรับวัคซีนที่จะใช้ป้องกันโรคนั้น ขณะนี้ยังมีอุปสรรคในการพัฒนาวัคซีนที่จะนำไปใช้ได้
เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด คือการงดพฤติกรรมเสี่ยงทุกชนิดและไม่ตั้งตัวอยู่ในความประมาท
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์จะต้องไม่รีบร้อน ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยหรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย







การให้คำปรึกษาแนะนำผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ

Posted on by Athi's PHA

ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการของโรคเอดส์ จะรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตกลัวการถูกทอดทิ้งการรังเกียจและทุกข์ทรมาน

กับการเจ็บป่วย ดังนั้นการดูแลสุขภาพทางกายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจะดำรงชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด โดย



1.แนะนำวิธีสร้างพลังจิตที่เข็มแข็ง จากการทำสมาธิให้จิตใจสงบ คิดในทางที่ดีให้ความหวังแก่ชีวิต ช่วยให้สุขภาพ

ทางกายดีขึ้นบรรเทาอาการเจ็บปวด และลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้

2.แนะนำวิธีลดความเครียดโดยให้ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพและความพึงพอใจ การได้ฟังหรือเล่นดนตรี

การฟังธรรม การทำสมาธิ การทำกลุ่มสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้สึกให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

3.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยนำศาสนาเข้ามาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ความเชื่อและศรัทธาทางศาสนาจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจ

ชีวิตได้ดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลายและสงบมากขึ้น

4.ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะที่มีการเจ็บป่วย การอยู่เป็นเพื่อนคอยปลอบโยนและให้กำลังใจจากครอบครัว และ

เพื่อน จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง ว้าเหว่ มองเห็นคุณค่าของตนเอง มีกำลังใจที่จะเผชิญกับปัญหาการเจ็บป่วย

พร้อมที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

5.มีการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขอื่น ๆ หรือมีการติดต่อกับ

สถานบริการที่รักษาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความรู้สึกถูกทอดทิ้งและการรังเกียจได้






การให้คำปรึกษาแนะนำผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ

Posted on by Athi's PHA

เมื่อมีการติดเชื้อเอดส์ในร่างกาย ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ได้โดยยังไม่มีอาการของโรคหรือตายจากโรคทันที สามารถ

จะทำงาน มีกิจกรรมที่เหมาะสมได้ตามปกติ แต่ควรได้รับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อดำเนินไปสู่ระยะที่

รุนแรงขึ้น และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การที่ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่กับการติดเชื้อเอดส์อย่างมีสุขภาพดี

ประกอบด้วย



1.การยอมรับความจริงว่ามีการติดเชื้อเอดส์ในร่างกาย

2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์

3.การดูแลรักษาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์

4.หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

5.ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

6.การมีกำลังใจและสามารถเผชิญปัญหาอย่างมีสุขภาพจิตดี



ผู้ติดเชื้อเอดส์ควรได้รับคำแนะนำทั่วไปเพื่อส่งเสริมและดูแลรักษาสุขภาพ กาย ใจ และสังคม ดังนี้



1.การส่งเสริมสุขภาพตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ควบคุมและรับผิดชอบตนเอง โดยมีกิจกรรมในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเอง และได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ชุมชนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเป็นการประคับประคองทางด้านจิตใจ อารมณ์ โดย



•สร้างความหวังและกำลังใจ การมีความหวังและกำลังใจจะช่วยกระตุ้นการทำงานและระบบภูมิคุ้มกัน

ที่ทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น การดำเนินโรคไปสู่ระยะที่รุนแรงจะช้าลง และยังเพิ่ม

ความอดทนพร้อมที่จะเผชิญต่อความเจ็บป่วยได้มากขึ้น

•ขจัดความเครียด หรือความวิตกกังวลของตนเเองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การอ่านหนังสือ การฟังดนตรี

การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอกสถานที่ การพูดคุยกับเพื่อนฝูง การทำงานอดิเรกที่พึงพอใจ

การสวดมนต์ทำสมาธิ จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อผ่อนคลายและมีสติดีขึ้น

•พักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้มีสุขภาพดี มีพลังสำรองที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยงแปลง และชลอการดำเนินของ

โรคให้ช้าลง

•ทำกิจกรรมเพื่อสังคม จะช่วยให้ชีวิตมีคุณค่าขึ้น เป็นประโยชน์ต่อสังคมช่วยให้สังคมยอมรับ และเป็นการช่วย

เหลือประคับประคองซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้ติดเชื้อเป็นการให้กำลังใจ สร้างความเชื่อมั่นและร่วมมือในการ

ป้องกันแพร่กระจายโรคได้ดี

•ครอบครัวและญาติพี่น้อง มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อ จะช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอดส์ดีมาก เนื่องจาก

ครอบครัวมีความรัก ความผูกพัน การเข้าใจปัญหาและจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้อื่น แต่เนื่องจาก

ผู้ติดเชื้อมักมีอารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย ครอบครัวจึงต้องเข้าใจเห็นใจและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

นั้น ๆ อย่างมั่นคง

•วางแผนการดำเนินชีวิตในช่วงต่อไปอย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองครอบครัวและสังคม เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอดส์ยัง

สามารถทำงานและมีกิจกรรมได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ป้องกัน

การติดเชื้อเพิ่มขึ้นและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น ในระยะแรกที่ผู้ติดเชื้อยังไม่สามารถจะตัดสินใจและ

วางแผนการดำเนินชีวิตได้ครอบครัวและผู้ใกล้ชิดที่ได้รับความไว้วางใจจะเป็นผู้ที่ให้กำลังใจ สร้างความมั่นคง

ทางอารมณ์ ช่วยหาแนวทางในการแก้ปัญหา และร่วมกันในการวางแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวใน

ระยะต่อไป

•ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ ทั้งจากสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ บุคลากรทางสุขภาพ สื่อต่าง ๆ จะช่วยให้

ผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าใจและสนใจที่จะดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

•สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อน

ควรรีบมาตรวจรักษา



2.การส่งเสริมให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการรับเชื้อเพิ่มขึ้น และป้องกันการกระจายเชื้อสู่ผู้อื่น โดย



•มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

•ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

•งดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ

•หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

•หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา ของมีคมหรือบริการที่จะมีบาดแผล สัมผัสเลือดกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ

แปรงสีฟัน การฝังเข็ม เจาะหู การสักผิวหนัง

•งดบริจาคโลหิต

•ไม่ควรให้มีการตั้งครรภ์ เพราะทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นโรค







การรักษา

Posted on by Athi's PHA

การรักษาทางกาย
ปัจจุบันยังไม่มียา หรือ Vaccine ในการรักษาหรือป้องกันโรคเอดส์ที่ได้ผลอย่างแท้จริง หลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังดำเนินการศึกษาค้นคว้า หาวิธีป้องกันและรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด ต่อไป ขณะนี้ ได้ใช้วิธีการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์โดย ให้ยาเพื่อยับยั้งบการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอดส์ ซึ่งยาที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ได้รับรอง ให้ใช้ ในขณะนี้มี 3 ตัวคือ AZT ddI และ ddC เป็นยาในกลุ่ม Didcoxyraucleosede ยากลุ่มนี้จะไปขัดขวาง การทำงานเอ็นซัยม์ของไวรัสเอดส์

ในปัจจุบันได้มีการผลิตยากลุ่มใหม่ขึ้นมา ทำหน้าที่ขัดขวางการทำงานของเอ็นซัยม์โปรตีเอส ทำให้ ไวรัสที่สร้างใหม่ไม่เป็นไวรัสที่สมบูรณ์ เรียกยากลุ่มนี้ว่า Protease Inhibitor ให้การรักษาตามอาการจากโรคแทรกซ้อน การเสริมสร้างภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วย วิธีที่ใช้ในปัจจุบัน คือ การปลูกถ่ายไขกระดูกและเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte
การรักษาทางใจ
นอกจากการรักษาทางกายแล้ว ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ ควรได้รับการรักษาทางใจร่วมด้วยเนื่องจากผู้ติดเชื้อเอดส์ เมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อจะมีความกลัววิตกกังวล โกรธ รู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตกลัวถูกต่อต้านถูกรังเกียจจากสังคม ต้องออกจากงาน ภาวะวิกฤตต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ผู้ติดเชื้อเอดส์เกิดความรู้สึกหมดหวัง ซึมเศร้าหรืออยากตายได้ วิธีที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ สามารถเผชิญกับภาวะวิกฤตดังกล่าว สร้างความเข้าใจปัญหา หาทางแก้ไขเรียนรู้ที่จะปรับตัว ปรับใจให้เผชิญต่อปัญหา และมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่าคือ การให้กำลังใจ และการให้คำปรึกษาแนะนำ
การให้กำลังใจ


วิธีให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์ หากบังเอิญมีคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องติดเชื้อเอดส์ หรือมีผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์ สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด สามารถช่วยเหลือ และให้กำลังใจได้ดังนี้

1 ยอมรับผู้ติดเชื้อเอดส์
เมื่อทราบว่าคนในครอบครัวติดเชื้อเอดส์ ต้องพยายามทำใจให้ยอมรับให้ได้ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าทำใจไม่ได้หรือโศกเศร้าเสียใจ อาจทำให้ผู้ติดเชื้อเอดส์รู้สึกหดหู่มากยิ่งขึ้น ต้องพยายามแสดงความเข็มแข็งให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเป็นหลักทางใจให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้ยึดเหนี่ยว

2 รับฟังความรู้สึกและปัญหา
เปิดโอกาสให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้เล่าหรือระบายความรู้สึก ความอึดอัด หรือ ปัญหาของเขา จะช่วยทำให้ผู้ติดเชื้อเอดส์คลายความเครียด ความวิตกกังวล รู้สึกว่าตนเองไม่ต้องอยู่ตามลำพัง

3 ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าใจตนเอง
ช่วยให้ผู้ติดเชื่อเอดส์เข้าใจตนเองในเรื่องของความรู้สึกนึกคิด ช่วยจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อให้เกิดความสะดวก และทำให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง

4 ให้กำลังใจแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์
บางเวลาผู้ติดเชื้อเอดส์จะมีความรู้สึกว่าตนเองอ่อนแอ ท้อแท้ และสิ้นหวัง ควรจะกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้ เพราะกำลังใจจะเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้เกิดพลังในการต่อสู้ การให้กำลังใจอย่างง่ายๆ ก็คือ การอยู่เป็นเพื่อน ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ด้วยความจริงใจ โดยไม่ต้องพูดมากก็สามารถสร้างความสุข ให้แก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ และเสริมสร้างกำลังใจให้มีชีวิตต่อไปได้

5 จัดกิจกรรมใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
อาจจัดหากิจกรรมต่างๆ ทำร่วมกัน เพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์เพราะถ้าปล่อยให้มีเวลาว่างมาก ๆ อาจทำให้มีความรู้สึกเศร้า เหงา หรืออ้างว้าง ดังนั้นกิจกรรมเช่น การไปออกกำลังกายด้วยกัน ไปทำสวนหรือตกแต่งสนาม การจัดหาหนังสือที่มีลักษณะสร้างสรรค์ให้ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์อ่าน จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ใช้วันเวลาเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว มีความรู้สึกเป็นสุขสนุกสนานและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า

6 ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยอาจจะช่วยทำงานต่างๆ ให้เช่น ช่วยทำงานบ้าน ซักรีดเสื้อผ้า ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระหรือลดความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานของผู้ติดเชื้อเอดส์ จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ สะอาดและอากาศถ่ายเทได้ดี จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

7 ดูแลให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ
ดูแลให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้รับสารอาหารครบถ้วน กระตุ้นให้มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหาร โดยการช่วยจัดสำรับอาหารให้ดูน่ารับประทาน ถ้าผู้ติดเชื้อเอดส์อ่อนเพลียไม่มีแรง อาจจะช่วยไปตลาดและช่วยทำอาหารให้

8 แสดงความรักต่อผู้ติดเชื้อเอดส์
บางครั้งผู้ติดเชื้อเอดส์อาจจะมีความรู้สึกสูญเสียสิ่งที่มีค่าที่สุด ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง การแสดงออกที่ทำให้รู้ว่ารักและหวังดีต่อผู้ติดเชื้อ และการให้ความดูแลอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองว่าตนเองยังมีความหมาย ยังเป็นที่รักและเป็นที่ต้องการของคนอื่นๆ อยู่

9 ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ
ถ้าผู้ติดเชื้อเอดส์ยังไม่มีอาการก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ จึงควรสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้มีงานทำในช่วงยังไม่แสดงอาการ เพื่อจะได้เก็บสะสมไว้ในยามที่เจ็บป่วยฉะนั้นในเรื่องการเงินช่วงแรกจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าผู้ติดเชื้อเอดส์มีอาการไม่สบาย อาจจะทำงานได้ลดลงซึ่งจะส่งผลให้มีปัญหาเรื่องเงินผู้ใกล้ชิดจึงจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ

10 ดูแลให้การพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย
เมื่อผู้ติดเชื้อเอดส์มีอาการไม่สบายผู้ใกล้ชิดควรจะได้มีการเตรียมตัวในด้านความรู้ เพื่อให้สามารถดูแลช่วยเหลือ และให้การพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้ และถ้ามีอาการหนัก ผู้ใกล้ชิดควรจะช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล

11 อดทนต่อการแสดงออกของผู้ติดเชื้อเอดส์
อาการของโรคที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ติดเชื้อเอดส์ ทำให้มีความรู้สึกอ่อนไหวหงุดหงิดง่าย น้อยใจเก่ง ร้องไห้ง่าย คนใกล้ชิดจะต้องมีความอดทน มีความรู้สึกหนักแน่น และไม่ถือสาผู้ติดเชื้อ

12 วางแผนอนาคต
ผู้ใกล้ชิดอาจจะเป็นที่ปรึกษาในการวางแผนอนาคตของผู้ติดเชื้อเอง และรวมทั้งคนในครอบครัว เช่น มารดา บิดา บุตร และภรรยา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ติดเชื้อ เกิดความมั่นใจในอนาคต ว่าได้เตรียมการแก้ไขปัญาต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าแล้ว



การให้คำปรึกษาแนะนำ


ใครบ้างที่สามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ

1 ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนที่ผู้ติดเชื้อเอดส์ไว้วางใจ

2 บุคลากรในทีมสุขภาพ เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง โรคเอดส์เป็น อย่างดี และมีหน้าที่ให้คำแนะนำในการดูแลรักษา ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการแพร่ กระจายโรค จึงมีความเข้าใจถึงปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญหาการเจ็บป่วยทาง ด้านร่างกายของผู้ติดเชื้อ การให้คำปรึกษาแนะนำจะทำได้อย่างครอบคลุมและชี้แนะแนวทาง ในการแก้ปัญหาได้ดี

3 กลุ่มบุคคลในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ครู อื่น ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่คนในชุมชนยอม รับนับถือและผู้ติดเชื้อไว้วางใจ






การวินิจฉัยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

Posted on by Athi's PHA

เชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปจับกับเซลล์เป้าหมาย คือ เซลล์ลิมโฟซัยม์ ชนิด T helper หรือ CD4 จากนั้นเชื้อจะเข้าสู่เซลล์อาจจะแฝงอยู่ในเซลล์โดยไม่แสดง อาการใด เมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นจะทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนยีโนมของเชื้อไวรัส และถูกปล่อยออกจากเซลล์เข้าสู่เซลล์เป้าหมายอื่นต่อไป ทำให้จำนวนเซลล์ CD4 ใน ผู้ติดเชื้อจะลดลงเรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ ไม่สามารถ ต่างๆ หรือเซลล์มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นโอกาสที่ทำให้มีการติดเชื้อจากจุลชีพ เหล่านี้ กำจัดจุลชีพที่รุนแรงและลุกลามเข้าสู่อวัยวะภายในทั่วร่างกาย ซึ่งเชื้อจุลชีพนี้ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปาราสิต และเชื้อไวรัสอื่นๆ ทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสเข้าแทรกซ้อน
โรคฉวยโอกาสที่พบ ในผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์ที่รายงาน ได้แก่


โรคติดเชื้อ (Infection) จาก

เชื้อปาราสิต
Cryptosporidiosis, Toxoplasmosis, Isosporiasis, Microsporidiosis, Pneumocystis carinii pneumonia, Strongiloidosis, Giardiasis, Entamoeba histolytica infection

เชื้อรา
Penicillosis, Cryptococcosis, Candidiasis, Tenea vesicolor, Coccidiodomycosis, Mucormycosis, Blastomycosis, Aspergillosis, Histoplasmosis, , Nocardiosis, Torulopsis infection

เชื้อแบคทีเรีย
Tuberculosis, Atypical mycobacterium infection, Salmonellosis (non typhi), Encapsulated bacterial infection

เชื้อไวรัส
Herpes simplex infection, Varicella-zoster virus infection, Molluscum contagiosum, Cytomegalovirus (CMV) infection, Epstein-Barr virus infection



ในประเทศไทยมีอุบัติการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ต่างกันไปตามภูมิภาค โดยพบว่า
วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ Cryptococcosis และ Pneumocystis carinii
pneumonia (PCP)





การใช้ค่า CD4 ลิมโฟซัยท์ในการติดตามผู้ป่วย

Posted on by Athi's PHA

การติดเชื้อ HIV ทำให้เกิดพยาธิสภาพมากมายในคนไข้ เซลล์เป้าหมายที่สำคัญของเชื้อ HIV ที่เข้าไป เจริญเติบโตและแบ่งตัวทำลายเซลล์ คือ เซลล์ลิมโฟซัยท์ชนิด CD4 จะทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือที่เรียกว่าโรคเอดส์ในที่สุด การลดจำนวนลงของเซลล์ CD4 เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงในผู้ป่วย เป็นอย่างดี
เราสามารถแบ่งการลดลงของ CD4 ลิมโฟซัยท์ได้เป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ
ระยะที่ 1 ซึ่ง มักเกิดขึ้นภายหลังจากการรับเชื้อ HIV แล้วเกิด seroconversion ภายใน 6 ถึง 18 เดือน ระดับของ จำนวน CD4 จะลดจากระดับปรกติประมาณ 1,000 เซลล์ต่อลบ.มม. ลงมาเป็น 600 เซลล์ต่อลบ.มม.
ในระยะที่ 2 นั้น ระดับของจำนวน CD4 ลิมโฟซัยท์ จะอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ ระยะนี้อาจกินเวลา นานหลายๆ ปีทีเดียว หลังจากระยะนี้ไปแล้ว คนไข้จะเริ่มมีอาการต่างๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเอดส์ เรียก
ระยะที่ 3 นี้ว่า ARC (AIDS Related Complex) ซึ่งจำนวน CD4 ลิมโฟซัยท์ จะลดลงอย่างรวดเร็ว จนเข้าระยะสุดท้ายคือเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น ซึ่งคนไข้จะมีจำนวนเซลล์ CD4 ลดลง จนถึงแก่กรรม ซึ่ง จำนวนเซลล์ CD4 นั้น น้อยกว่า 100 เซลล์ต่อลบ.มม. และมีอัตราส่วนของเซลล์ CD4 ต่อ CD8 น้อยกว่า 0.2 ส่วนอัตราร้อยละของเซลล์ CD4 นั้น น้อยกว่า 10 ในระยะนี้คนไข้มักจะเสียชีวิตจาก โรคแทรกซ้อนต่างๆ
ดังนั้นการใช้ค่าของ CD4 จะเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์การดำเนินของโรค และติดตามผลการรักษาได้ จากการศึกษาโดยการติดตามผู้ป่วยนาน 4 ปี พบว่าโอกาสที่ผู้ติดเชื้อ HIV จะเป็นโรคเอดส์เมื่อจำนวน CD4ลิมโฟซัยท์
•ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 84
•200-299 เซลล์ต่อลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 41
•300-399 เซลล์ต่อลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 25
•มากว่าหรือเท่ากับ 400 เซลล์ต่อลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 18


หรือจากการศึกษาในคนไทยพบว่าถ้า CD4 ลิมโฟซัยท์ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลบ.มม. ผู้นั้นจะมีโอกาสเป็นเอดส์เต็มขั้นภายใน 2 ปี มากกว่าคนที่ CD4 ลิมโฟซัยท์สูงกว่า 500 เซลล์ต่อลบ.มม. ถึง 12.3 เท่า และในกรณีที่มีการลดต่ำลงของจำนวน CD4 ลิมโฟซัยท์ต่ำกว่า 500 เซลล์ต่อลบ.มม. ผู้ป่วยจะมีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสจากเชื้อต่าง ๆ ตามจำนวน CD4 ลิมโฟซัยท์ที่ลดลง นอกจากนี้ยังใช้ค่าของจำนวนเซลล์ CD4 เป็นเกณฑ์การตัดสินให้ยา ถ้าจำนวนเซลล์ CD4 ต่ำกว่า 500 เซลล์ต่อลบ.มม. ทางสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Instituteof Health) ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรจะให้ยา Zidovudine (AZT) แก่คนไข้ แต่ถ้าจำนวน absolute ของเซลล์CD4 สูงกว่า 500 เซลล์ต่อลบ.มม. ก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ยา หรือถ้าต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลบ.มม.ควรให้ยาป้องกัน Pneumocystis carinii เป็นต้น
การวัดหาระดับของเซลล์ CD4 ในคนที่ติดเชื้อ HIV นั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ จำนวน absolute ของเซลล์CD4 อัตราร้อยละของเซลล์ CD4 และอัตราส่วนของเซลล์ CD4 ต่อเซลล์ CD8 ในการตรวจนับจำนวนเซลล์ CD4นั้นต้องอาศัยชุดน้ำยาตรวจทีมีขายสำเร็จ เช่น ELISA Kit หรืออาจใช้เครื่องมีอที่เรียกว่า “โฟลไซโตมิเตอร์”(Flow cytometer) หริอ เรียกว่า FACScan





การตรวจหาการติดเชื้อเอดส์

Posted on by Athi's PHA

สามารถตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ ได้จาก

การซักประวัติและการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น Homosexual Bisexual, Addiction ฯลฯ ซึ่งเป็นการคาดเดา

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี หลังจากไดัรับเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายประมาณ2-3 สัปดาห์ จึงจะมีอาการแสดงออกแบบชนิดเฉียบพลัน (acute retroviral syndrome) คือจะมีอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด (acute infection mononucleosis-like illness) ซึ่งจะมีอาการอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีเชื้อไวรัส (viremia) และตรวจพบแอนติเจน (antigenemia) ได้ ซึ่งอาจมีเวลา 2-6 สัปดาห์เท่านั้น หลังจากนั้นอีกระยะหนึ่งจึงจะเริ่มตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV (anti-HIV) ในกระแสเลือด นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากอาจจะไม่มีอาการอะไรเลยในช่วงที่มีเชื้อไวรัสและแอนติเจน

ดังนั้นหลังจากได้รับเชื้อ HIV ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีตอบสนอง และตรวจพบในซีรั่ม ตั้งแต่ระยะแรกของการติดเชื้อจนถึงระยะที่มีอาการโรคเอดส์ ระยะหลังติดเชื้อจนถึงตรวจพบแอนติบอดีใช้เวลานาน 3-12 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่ประมาณ8 สัปดาห์) บางรายอาจนานถึง 6 เดือน เรียกช่วงที่ก่อนตรวจพบแอนติบอดีนี้ว่า "window period" ในระยะ window period นี้หากต้องการตรวจว่ามีการติดเชื้อ HIV หรือไม่ อาจใช้วิธีการตรวจหาแอนติเจนช่วย

วิธีการตรวจเพื่อบ่งบอกการติดเชื้อ

การตรวจเพื่อบ่งบอกการติดเชื้อ HIV นั้น มี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
1 Indirect method เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อไวรัส ก็คือ การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV
2 Direct method เป็นการตรวจหาตัวเชื้อไวรัสโดยตรง ส่วนใหญ่ยังเป็นวิธีที่ใช้ในการศึกษาวิจัย และมีข้อจำกัดในการใช้อยู่ ได้แก่ การตรวจหาแอนติเจนชนิด p24 และการตรวจหายีโนมไวรัส
วิธีการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV

การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไป แอนติเจนที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีอาจเป็นแอนติเจนของเชื้อไวรัสที่สกัดจากการเพาะเลี้ยงในเซลล์ หรือเป็นแอนติเจนที่เป็นโปรตีนที่สร้างโดยยีนจำเพาะของไวรัส เตรียมด้วยวิธีพันธุวิศวกรรม หรือเป็นแอนติเจนที่ได้จากการสังเคราะห์เปปไทด์ซึ่งน้ำยาส่วนใหญ่จะประกอบด้วย แอนติเจนจำเพาะส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาก (conserved region) ของcore antigen (p24) และส่วนของ gp41 หรือ gp120 ของเชื้ออ HIV-1 และส่วน gp36 ของเชื้อ HIV-2
วิธีการตรวจจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ

1 การตรวจกรองเบื้องต้น (Screening test)
วิธีทดสอบได้แก่ วิธีอีไลซ่า (ELISA), วิธี gelatin particleagglutination (GPA)
2 การตรวจยืนยัน (Confirmatory test)
วิธีทดสอบยืนยันที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ immunoblot และ immunofluorescent assay (IFA) แต่ที่นิยมใช้ในขณะนี้คือ immunoblot หรือเรียกว่า western blot (WB)


การตรวจหาแอนติเจน (p24 antigen)


p24 antigen เป็นโปรตีนที่อยู่ในส่วนแกน (core protein) ของเชื้อ HIV ซึ่งจะมีการสังเคราะห์ขี้น ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อ HIV และปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดในระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ และระยะท้าย ๆ ของการดำเนินโรคเอดส์ ทำให้สามารถตรวจ p24 antigen ได้ในเลือดของผู้มีการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะมีรูปแบบของแอนติเจนในกระแสเลือดได้ 4 ลักษณะ คือ

1 พบทั้งแอนติเจนอิสระ (free antigen) และ แอนติเจนอยู่รวมกับแอนติบอดี (antigen-antibody complex)
2 ไม่พบแอนติเจนในรูปแบบอิสระในระยะแรก แต่จะมีแอนติเจนรวมอยู่กับแอนติบอดี
3 พบแต่แอนติเจนอิสระ แต่ไม่พบแอนติเจนอยู่รวมกับแอนติบอดี
4 ไม่พบทั้งแอนติเจนอิสระและแอนติเจนอยู่รวมกับแอนติบอดี


นอกจากรูปแบบที่แตกต่างกันทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว ยังพบว่าระดับแอนติเจนชนิด p24 ในกระแสเลือดยังมีการเเปลี่ยนแปลงระดับขึ้น ๆ ลง ๆ (fluctuation) ได้ในเวลาที่ต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในการตรวจหา และแปรผลที่ได้

ในปัจจุบันเทคนิคการตรวจแอนติเจนที่ใช้อยู่คือ วิธีอีไลซ่า (ELISA, enzyme-linked immunosorbent assay) เท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจหาแอนติเจนอิสระได้ดี แต่ยังไม่มีความไวพอในการตรวจหาแอนติเจนที่อยู่รวมกับแอนติบอดีจึงจะต้องมีเทคนิคที่จะแยกแอนติเจนออกจากแอนติบอดีเสียก่อนที่จะมาทำการตรวจ (immune complex dissociation, ICD) น้ำยาที่ใช้ตรวจหาแอนติเจนมีอยู่หลายบริษัท ได้แก่ Abbott, Coulter, Diagnostic Pasteur และ Organon
การตรวจหายีโนมของไวรัส

การตรวจหายีโนมของไวรัสเป็นการตรวจหายีนหรือกรดนิวคลิอิก ซึ่งอาจตรวจหาไวรัส RNA หรือ proviralDNA วิธีเดิมที่ใช้คือการทำ hybridization ซึ่งพบว่าไวไม่เพียงพอ ในปัจจุบันพบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจหา proviralDNA ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (polymerase chain reaction, PCR)





อาการแสดงตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

Posted on by Athi's PHA

กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งอาการและอาการแสดงของผู้ติดเชื้อเอดส์ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1 ระยะติดเชื้อเอดส์โดยไม่มีอาการ ตรวจพบการติดเชื้อเอดส์โดยการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอดส์โดยผู้ติดเชื้อไม่มีอาการของโรคเอดส์เลย

2 ระยะติดเชื้อที่มีอาการ (HIV Symptomatic) ซึ่งได้แก่ผู้ติดเชื้อ HIV และมีอาการหรืออาการแสดงบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน อาการเหล่านี้ประกอบด้วย อาการที่เคยใช้ในระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (ARC หรือ AIDS Related Complex) แต่เดิม และอาการอื่น ๆ ที่แพทย์สงสัย การติดเชื้อเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอดส์มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน มีไข้เกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นพักๆหรือติดต่อกัน อุจจาระร่วงอย่างเรื้อรัง น้ำหนักลดเกิน 10% ของน้ำหนักตัว ต่อมน้ำเหลืองโต มากกว่า 1 แห่งในบริเวณที่ไม่ติดต่อกัน เชื้อราในปาก ฝ้าขาวในช่องปากจากเชื้อไวรัส (Hairy Leukoplakia) โรคงูสวัด (Herpes Zoster)


3 ระยะป่วยเป็นเอดส์ ตรวจพบการติดเชื้อเอดส์และมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสโรคหนึ่งโรคใดหรือหลายโรค






อาการแสดงตามเกณฑ์ของศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา

Posted on by Athi's PHA

ผู้ติดเชื้อเอดส์จะมีอาการแสดงของโรคแตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติจนถึงอาการของโรคมะเร็ง หรือโรค ติดเชื้อที่ร้ายแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย และระยะเวลาตามการเปลี่ยนแปลง จากพยาธิสภาพหลังการติดเชื้อ

ผู้ได้รับเชื้อเอดส์โดยไม่มีอาการและจัดอยู่ในระยะ early stages เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงตาม ขั้นตอนจนกระทั่งถึงขั้น "Fullblown" และจัดเป็นโรคเอดส์โดยสมบูรณ์ และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับเชื้อเอดส์จนมี อาการครบถึงขั้นเป็นโรคเอดส์นั้นยาวนานถึง 10 ปี เชื้อเอดส์ทำอันตรายเฉพาะ CD4 (helper/Inducer) lymphocytes โดยลำดับ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ดังนั้นการดำเนินการของโรคจึงมีตั้งแต่ขั้น asymptomatic state ซึ่งระบบภูมิต้านทานคนปกติจนกระทั่งเสื่อมช้า ๆ และจนไม่อาจทำหน้าที่ได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งช่วงนี้เองที่มีการติดเชื้อ อื่น ๆ ที่คอยฉวยโอกาสที่ร่างกายตกอยู่ในภาวะเพลี่ยงพล้ำ ติดตามด้วยมะเร็งบางชนิด จนในที่สุดอาการแสดงอื่น ๆ ของโรคเอดส์ปรากฏเด่นชัด

ดังนั้นผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อเอดส์ ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะโอกาสที่การติดเชื้อนั้น จะดำเนินต่อไป จนเป็นโรคนั้นมีเพียง 10 % และถ้าโชคร้ายเกิดการติดเชื้อ การติดเชื้อนี้จะดำเนินไปกว่าจะแสดงอาการเป็นโรคเอดส์ ต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี ซึ่งช่วงระยะเวลาเหล่านี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ไม่ให้มี การติดเชื้อที่คอยจังหวะซ้ำเติม จึงสามารถยืดเวลาออกไปได้อีกนาน และดำเนินชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้
แต่เดิมมาศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งระยะต่าง ๆ ของการติดเชื้อเอชไอวี ออกเป็น 4 ระยะ ) คือ

ระยะที่ 1 : ระยะติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน (acute HIV infection)
2-3 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเอชไอวี จะมีอาการคล้ายไข้หวัด ต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever-like illness)และอาจมีอาการของ encephalitis, meningitis, myelopathy และ neuropathy อาการต่าง ๆ เหล่านี้หายไปได้เองภายใน1-2 สัปดาห์ โดยที่อาจมีอาการน้อยมากจนผู้ป่วยไม่สังเกตุ คิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาก็ได้

ระยะที่ 2 : ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (asymptomatic infection)
คนไข้จะไม่มีอาการอะไรเลย แต่ถ้าเจาะเลือดตรวจ จะพบมีแอนติบอดีต่อเชิ้อเอชไอวี โดยจะมีเลือดเอดส์บวกไปตลอดชีวิต แอนติบอดีหรือภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์จะเริ่มพบประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ แต่อาจเนิ่นนานออกไปถึง 3 เดือนก็ได้ ดังนั้นโดยทั่วไปถ้าเลย 6 เดือนไปแล้ว แอนติบอดีต่อเชิ้อเอชไอวียังให้ผลลบอยู่หลัง exposeต่อเชื้อเอชไอวีเพียงครั้งเดียว ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าไม่มีการติดเชื้อโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามมีรายงานในกลุ่มชายรักร่วมเพศในอเมริกาว่าอาจต้องรอไปนานถึง 3 ปี แอนติบอดีต่อเชิ้อเอชไอวีจึงจะให้ผลบวก

ระยะที่ 3 : ระยะต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป (persistent generalised lymphadenopathy,(PGL)
ระยะนี้จะเกิดหลังได้รับเชิ้อเอชไอวีนานเท่าไรยังไม่ทราบชัด คนไข้เองก็ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าตรวจร่างกายจะพบต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความของ PGL ว่า ต้องเป็นต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 บริเวณขึ้นไป โดยไม่นับรวมต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณขาหนีบ และต่อมน้ำเหลือง 2 บริเวณนี้จะต้อง ไม่เป็น draining chain ซึ่งกันและกัน ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้จะต้องมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป และจะต้องโตอยู่นานเกิน 1 เดือน ถ้าตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองไปตรวจจะไม่พบพยาธิสภาพอะไร คือไม่ใช่มีการติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง แต่มีลักษณะเป็นแบบ reactive hyperpasia

ระยะที่ 4 : ระยะติดเชื้อมีอาการ (symptomatic HIV infection)
เป็นระยะของการติดเชิ้อเอชไอวีซึ่งมีอาการ แบ่งย่อยได้เป็น : -

ระยะที่ 4-A : Constitutional disease
ตรงกับระยะ AIDS related complex (ARC) เดิม คือมีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ (ลดเกิน 10 % ของน้ำหนักดั้งเดิม หรือเกิน 10 กิโลกรัม หรือ 15 ปอนด์) ไข้ (เกิน 38 องศาเซลเซียส ) เรื้อรัง (เกิน 4 สัปดาห์) โดยไม่ทราบสาเหตุ ท้องเสียเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออกตอนกลางคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ เชื้อราในช่องปาก (oral candidiasis) งูสวัด (Herpes Zoster)

ระยะ 4-B : Neurological disease
โดยอาการเป็นเรื่องของหลงลืมง่าย มีอาการทางจิตประสาท หรือมีอาการทาง encephalitis, meningitis,myelopathy และ neuropathy คือมีอาการได้ทุกอย่างของระบบประสาทส่วนกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“HIV encephalopathy” หรือ “AIDS demantia” ลักษณะของสมองเหี่ยว (brain atrophy) เป็นลักษณะทางเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่พบบ่อยที่สุด

ระยะที่ 4-C : Secondary infectious disease

4-C-1 : Specified secondary infectious disease listed in CDC surveillance definition
4-C-2 : Other unspecified secondary infectious disease คือโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ๆ ที่มิได้รวมอยู่ใน surveillance definition เดิม

ระยะที่ 4-D : Secondary cancers
มะเร็งส่วนใหญ่ที่พบคือ Kaposi’s sarcoma ส่วนน้อยอาจเป็น primary central nevous system lymphomaและ non-Hodgkin’s disease

ระยะที่ 4-E : Other conditions
กลุ่มนี้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถจัดเข้าไว้ในทั้ง 4 กลุ่มข้างต้น เช่น มีโรคติดเชื้อที่ไม่ได้ระบุในกลุ่ม 4C หรือมีอาการนอกเหนือที่ระบุในกลุ่ม 4A เป็นต้น

การที่แบ่งการติดเชื้อ HIV ออกเป็นระยะต่าง ๆ เช่นนี้ เพราะ severity ต่างกัน คนที่เป็นระยะที่ 4 จะมีความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน มากกว่าคนที่เป็นระยะที่ 3 และ 2 ตามลำดับ






การแพร่และการติดต่อของเชื้อ

Posted on by Athi's PHA

เชื้อทำให้เกิดอะไร



เมื่อเชื้อไวรัสเอดส์เข้าสู่ร่างกาย จะไปจับกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4+ (T-Lymphocytes) ซึ่งเป็นเซลล์เป้าหมาย โดยไวรัสใช้ gp120 บนผิวนอกเซลล์จับกับแอนติเจน CD4 บนผิวของ เซลล์เม็ดเลือดขาว หลังจากนั้นเชื้อไวรัสเอดส์จะเข้าไปในเซลล์ CD4+ แล้วใช้เอนไซม์ reverse transcriptase ของตัวมันเองเปลี่ยน RNA ของมันให้เป็น DNA เพื่อจะ integrate เข้าไปอยู่ใน DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น ยีโนมของเชื้อไวรัสเอดส์จะแฝงตัวอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว จนกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นจะโดนกระตุ้น ก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและจะทำให้ยีโนมของเชื้อ ไวรัสเอดส์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนตามไปด้วย เชื้อไวรัสเอดส์ที่สมบูรณ์จำนวนมาก จะถูกสร้างขึ้นและถูกปลดปล่อย ออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น เพื่อไปเข้าเซลล์ CD4+ อื่น ๆ ต่อ ๆ ไป ทำให้เซลล์ CD4+ ในร่างกายติดเชื้อ และถูกทำลายลงในเวลาอันรวดเร็ว เป็นผลทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคอี่นได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่าย





เชื้อเอดส์ติดต่อกันทาง

1 ทางเพศสัมพันธ์



2 ทางเลือด

2.1 ผลิตภัณฑ์เลือด
2.2 การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน



3 จากแม่สู่ลูกในครรภ์







เอดส์เกิดจากเชื้ออะไร

Posted on by Athi's PHA

โรคเอดส์มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ที่มีชื่อว่า human immunodeficiency virus (HIV)
ปัจจุบันนี้พบเชื้อ HIV สองชนิด คือ HIV-1 และ HIV-2 เชื้อที่เป็นปัญหาก่อโรครุนแรงและแพร่กระจายทั่วโลก คือ HIV-1 ส่วน HIV-2 มีความรุนแรงในการก่อโรคและแพร่กระจายน้อยกว่า HIV-1 ผู้ติดเชื้อมีประวัติมาจาก แอฟริกาตะวันตก พบในยุโรป อเมริกา และอินเดีย




ลักษณะของเชื้อ HIV
HIV-1 เป็น RNA Virus ลักษณะเป็นทรงกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100-200 นาโนเมตร แกนกลางเป็นรูป ทรงกระบอก (cylindrical) ทึบรังสีอิเล็คตรอน (electron-densed core) ประกอบด้วยโปรตีนที่สำคัญคือ p24 (น้ำหนัก โมเลกุล 24 กิโลดาลตัน) มีเปลือก (envelope) ซึ่งมีกลัยโคโปรตีนเป็นส่วนประกอบห่อหุ้มอยู่ กลัยโคโปรตีนที่สำคัญคือ gp120 มีลักษณะเป็นตุ่ม (knobs) อยู่ด้านนอกสุดของตัวไวรัส และ gp41 ซึ่งมีลักษณะเป็น transmembrane glycoprotein มียีโนม (genome) เป็น RNA สายเดี่ยว (single strand) แต่จะอยู่เป็น diploid เสมอ





สายพันธุ์ของเชื้อ



เชื้อ HIV-1 ที่แยกได้ในภูมิภาคต่างกัน มี DNA sequence ที่ต่างกันทำให้แยกได้ออกเป็น subtype ต่าง ๆ
โดยดูความแตกต่างของ env หรือ gag gene product สายพันธุ์ที่พบในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เช่น MN, SF2 มี ลักษณะใกล้เคียงกันต่างจากสายพันธุ์ที่พบในแอฟริกา (Z, MAL, ELI) ในแอฟริกา และอเมริกาใต้พบเชื้อที่มี subtypes แตกต่างกัน

สายพันธุ์ของเชื้อ HIV ที่แยกได้ในประเทศไทย พบได้อย่างน้อย 2 subtypes โดยมีความ แตกต่างของ amino acid ในส่วน V3 loop สายพันธุ์ที่แยกได้จากผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นพวกฉีดยาเสพติดมีลักษณะใกล้เคียง กับเชื้อในยุโรปและอเมริกา และเชื้อที่แยกได้ที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นพวกติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อ ในแอฟริกา


ในขณะนี้พบเชื้อไวรัส HIV-1 ไม่ต่ำกว่า 8 subtypes คือ A-F, H และ O โดยพบในภูมิภาคแตกต่างกัน subtype A และ D พบในทวีปแอฟริกา subtype B พบในอมริกา, ยุโรป, ออสเตรเลีย, ไทย, ญี่ปุ่น และบราซิล subtype C พบที่ แอฟริกา , อินเดีย subtype E พบในประเทศไทย, ประเทศแอฟริกากลาง, ญี่ปุ่น subtype F พบที่รูมาเนีย, บราซิล subtype H พบที่กาบอง, รัสเซีย และ subtype O พบจากคนและลิงชิมแปนซีที่แคมารูนและกาบอง

ความแตกต่างของสายพันธุ์ อาจมีบทบาทในการก่อโรครุนแรงต่างกัน หรือมี cell tropism ต่างกัน และอาจมี ปัญหาในการเตรียมวัคซีน





เอดส์ มีความเป็นมาอย่างไร

Posted on by Athi's PHA

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2524 Dr. Gottlieb และคณะ ได้รายงานผู้ป่วยชายรักร่วมเพศ (homosexual หรือ gay man) 5 คน ในลอสแองเจลิส โดยผ่านศูนย์ควบคุมโรค (Centers for Disease Control, CDC) ของสหรัฐอเมริกาว่า ได้พบผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumocystis carinii (Pneumocystis carinii pneumonia, PCP) ทุกคนมีประวัติแข็งแรงก่อนเจ็บป่วย ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันก็มีรายงาน ผู้ป่วย PCP และมะเร็งของเซลล์บุหลอดเลือด (Kaposi's sarcoma, KS) ในชายรักร่วมเพศจากนิวยอร์ค และแคลิฟอร์เนีย 111 คน ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตในเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ตรวจพบภูมิคุ้มกัน บกพร่องมาก โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันผ่านเซลล์ (cell mediated immunity, CMI) จำนวน T-helper/inducer cell (CD4+) ลดลงมาก โรค PCP และ KS เกิดขึ้นหลังจากที่ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม


ในปีพ.ศ. 2525 พบผู้ป่วยในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียที่ได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด ผู้ป่วยที่ได้รับเลือด ทารกที่เกิดจากมารดาฉีดยาเสพติดและหญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเกิดการติดต่อได้ ทางเลือด การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด ทางเพศสัมพันธ์ และถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารก ศูนย์ควบคุมโรค ของสหรัฐอเมริกาจึงได้ตั้งชื่อโรคนี้ว่า AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes หลังจากที่ รายงานในสหรัฐอเมริกา ในเวลาต่อมามีรายงานผู้ป่วยจากยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา เอเซีย จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก




พ.ศ. 2526 Dr. Luc Montagnier และคณะ จากสถาบันปาสเตอร์กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพาะเลี้ยงแยกเชื้อไวรัสก่อโรคเอดส์ได้เป็นครั้งแรก โดยเพาะเลี้ยงเซลล์ต่อมน้ำเหลืองของชายรักร่วมเพศที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตหลายตำแหน่งให้ชื่อเชื้อที่พบว่า lymphadenopathy associated virus (LAV) สายพันธุ์ Bru (LAV BRU)


พ.ศ.2527 Dr. Robert Gallo และคณะ จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพาะเลี้ยง แยกเชื้อได้จากเม็ดเลือดขาว ของผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อระยะต่าง ๆ ตั้งชื่อเชื้อว่า human T-cell lymphotropic virus type III (HTLV-III) สายพันธุ์ B (HTLV-IIIB) คณะของ Gallo เคยแยกเชื้อ retroviruses ได้จากเซลล์ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว (hairy T-cell leukemia) มาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ตัว ให้ชื่อว่า human T-cell leukemia virus type I และ II (HTLV-I, HTLV-II)


ในปีเดียวกัน Jay Levy และคณะ เพาะเลี้ยงแยกเชื้อได้จากเม็ดเลือดขาวผู้ป่วยโรคเอดส์ได้เช่นกัน และ
ตั้งชื่อว่า AIDS-associated retrovirus (ARV) สายพันธุ์ SF2





เอดส์ คือ อะไร

Posted on by Athi's PHA

โรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes)
เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว เป็นผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมหรือบกพร่องลง ทำให้ติดเชื้อโรคชนิดฉวยโอกาส เช่น ปอดบวม วัณโรค หรือมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ เช่น มะเร็งของหลอดเลือด อาการจะรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด


ความหมาย
A = Acquired หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นภายหลัง มิได้เป็นมาแต่กำเนิด
I = Immune หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความเสื่อมลง
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง






ตุ่ม PPE คืออะไร

Posted on by Athi's PHA

อาการตุ่ม PPE ของผู้ติดเชื้อ hiv คืออาการที่แสดงว่าผุ้ติดเชื้อ hiv คนนั้นมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์แล้วครับ

โดยมากผู้ติดเชื้อ hiv ที่แสดงอาการตุ่มคับ PPE จะมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 75 cell/ml หรือ CD4 % ต่ำกว่า 5% ครับ

- ลักษณะของตุ่ม PPE นั้นจะเกิดเมื่อผิวหนังไปสัมผัสสิ่งที่แพ้และจะมีลักษณะคล้ายตุ่มยุงหรือมดกัด

จะเป็นตุ่มเม็ดใครเม็ดมันมีระยะห่างเท่า ๆ กัน ไม่มีลักษณะเป็นผื่น

ตุ่มคันจะขยายขนากกว้างออกมากกว่า 5 มม. มีอาการคันมาก ๆ รอยนูนของตุ่มจะใช้เวลายุบลงนานมาก

เมื่อตุ่มยุบลงแล้วจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้และจะใช้เวลานานหลายวัน หากบางคนเกาจนเป็นแผลเป็น

ก็อาจใช้เวลาเป็นปีที่รอยแผลเป็นจะจางลงหรือหายไปครับ

แต่บางคนรอยแผลเป็นจุดดำจากตุ่ม PPE ก็ไม่หายไปก็มีครับ แค่จางลง ฉะนั้นอย่าเกาให้เป็นแผลครับ

- สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็น PPE นั้น สิ่งแรกคือรีบไปพบแพทย์ที่รักษาเราอยู่นะครับ

เพราะผู้ติดเชื้อ hiv ที่เกิดเป็น PPE แล้วนั้น แสดงว่า CD4 ต่ำกว่า 200 cell/ml ครับ

ต้องรักษาที่ต้นเหตุ คือ กินยาต้าน เพื่อเพิ่มให้ภูมิคุ้มกันเกิน 200 cell/ml ครับ

( PPE เป็นตุ่มคันที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคใด ๆ ครับ แต่ เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีถูมิคุ้มกันน้อย

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันก็จะกรูกันเข้าไปต่อต้าน จึงเกิดปฎิกิริยา อย่างรุนแรง

ทำให้เกิดตุ่มคันขึ้น ซึ่งจะมีอาการคันมาก ๆ และจะยุบหรือหายจากอาการคันนานมากหลายวัน

เมื่อหายแล้วยังทิ้งรอยแผลเป็นไว้ด้วยครับ)

- ดังนั้นการใช้ยาทาและการกินยา รักษาอาการคันนั้น เป็นการแก้ที่ปลายเหตุและเป็นการรักษาแบบชั่วคราว

ไม่ได้ทำให้ตุ่มคัน PPE หายขาดครับ การที่จะทำให้ตุ่มคันหายขาดและไม่มีโอกาสเกิดได้อีก

คือการทำให้ภูมคุ้มกันหรือ CD4 เราสูงมากขึ้นครับ โดยหากเกิน 200 cell/ml โอกาสเกิด PPE น้อยมากแทบไม่มีเลยครับ

...สำหรับการใช้ยาบางอย่างนั้น มีทั้งผลดีและผลเสียครับ

เช่น ยาที่มีสเตียรอยด์ครีม มันมีผลทำให้เราหายแพ้หายคัน แต่มันไปกดภูมิคุ้มกันเราให้ลดลงได้

และยาบางตัวเช่น TA cream หากไม่รู้วิธีทา เราทามาก ๆ ก็จะทำให้เราผิวบางมากขึ้น

เมื่อเราหายจากอาการคัน แต่ผิวเราบางมากขึ้นเราก็จะแพ้ง่ายขึ้น

ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ครับ หรือเราต้องรู้ว่า TA cream ขนาดไหนใช้บริเวณไหนครับ

เช่น 0.1% TA cream จะใช้ทาเฉพาะตรงบริเวณตุ่มคัน PPE บาง ๆ ตั้งแต่คอลงมาครับ

0.02% TA cream จะใช้ทาเฉพาะบริเวณตุ่มคัน PPE บาง ๆ บริเวณใบหน้า ครับ เป็นต้น


- สรุป ตอบคำถามนะครับ

..ตุ่มคัน PPE จะเกิดเมื่อผู้ติดเชื้อ hiv มีระดับ CD4 ลดลงต่ำมาก ๆ

โดยมากจะมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 75 cell/ml หรือ CD4% ต่ำกว่า 5 % ครับ

ส่วนมากเกินกับผู้ที่ยังไม่กินยาต้านครับ เพื่อให้รู้ว่ามีอาการสัมพันธ์กับเอดส์แล้วครับ

และผู้ที่เป็น PPE จะต้องเริ่มยาต้านเมื่อกินยาต้านแล้ว ไม่ใช่ว่าจะหายจากการเกิดตุ่ม PPE ทันทีเลยนะครับ

ต้องใช้เวลาครับ จนกว่า CD4 จะสูงมากขึ้น หากสูงเกิน 200 cell/ml ได้เร็วโอกาสเกิดก็จะน้อยลงหรือไม่เกิดอีกครับ

สำหรับการใช้ยาทา ยากิน เป็นการบรรเทาอาการคันเท่านั้นครับ

และการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้นั้นก้ทำได้ยากและไม่ยั่งยืนครับ หากสงสัยเป็น PPE รีบไปพบแพทย์ครับ















ตุ่มอะไรคั้บ มันขึ้นเต็มตัวผมเลย ตุ่ม ppeหรือเปล่า

Posted on by Athi's PHA

ตุ่มอะไรก็ไม่รู้คั้บ คล้ายตุ่มสิวอ่ะ ไม่คัน บางตุ่มสุกเป็นหัวหนอง ขึ้นตามตัวกับหัวไหล่เต็มเลย ไม่กล้าถอดเสื้อเลย แย่จัง หรือว่าเพราะผมถอดเสื้อนอน ที่นอนไม่ได้ซักหว่า แต่ปกติมันก็ไม่ขึ้นเยอะเท่านี้เลย นี่อ่ะขึ้นเยอะมาก เยอะจนน่ากลัวเลย เง้อ


ที่ไหล่ด้านหลัง
ไหล่
หน้าอกก็มี
ดูดิเยอะแยะเลย
น่ากลัวอะ ทำไงดีนี่
เฮ้อ เกิดมาไม่เคยเจอแบบนี้ เบื่อจัง
ทำงัยดีละเนี่ย แบบนี้เขาเรียกว่าตุ่ม PPE หรือเปล่าคั้บ

















ความคืบหน้าอาการ ปากเบี้ยว ลิ้นชา ตาปิดไม่สนิท ของผมค้าบ

Posted on by Athi's PHA

เมื่อเช้านี้ได้ไปรอคิวตรวจที่ศิริราชมาแล้วคั้บ

หมอระบุว่า อาการของผมเกิดจากเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าซีกซ้ายไม่ทำงาน สาเหตุไม่ระบุแน่ชัด ในเคสของผม HIV อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการ แต่ทั้งนี้ คนปกติก็สามารถเป็นได้ อาการหนัก เบา แล้วแต่บุคคลไป โดยอาการของผมมีโอกาศหายกลับเป็นปกติ ประมาณ 80 % สวนอีก 20 คือ อาจจะหาย หายบ้าง หรือไม่หายเลย


ยาที่หมอจ่ายให้
1 วิตามินบีรวม วันละเม็ด เช้า กลางวัน เย็น หลังอาหาร
2 Prednisolone วันละ สี่เม็ด เช้า กลางวัน เย็น หลังอาหาร

เดือนหน้า นัดดูอาการอีกครั้งนึงคั้บ


กลัวปากเบี้ยวตลอดชีวิตอ่ะ ปกติหน้าตาก็ขั้นเทพอยู่แล้ว ยังมีเบี้ยวอีก โฮ่ โคตรเทพเลยทีนี้

อยากจะร้องให้ แต่ก็คิดว่าไร้ประโยชน์ สู้มานั่งหัวเราะบริหารปาก ดีกว่า จะได้มีโอกาศหายมากขึ้น














งานเข้า ปากเบี้ยว ลิ้นชา ตาปิดไม่สนิท

Posted on by Athi's PHA

งานเข้าอีกแล้วคั้บหลังจากครบอบหนึ่งปี มันเริ่มต้นจาก

ก่อนวันหวยออก ผมรู้สึกเขม่นตาข้างซ้ายตลอดทั้งวัน จากความเชื่อที่ว่า ขวาร้ายซ้ายดี ผมเลยไม่คิดมากคั้บ คิดในใจว่าอาจได้ลาภ (ทั้งที่ไม่ได้ซื้อหวยนะ) เหตุการณ์ผ่านไปปกติ ตายังกะตุกสลับกับเขม่นเรื่อยๆ อีกวันนึงผมไปกินข้าวมันไก้ เขามีน้ำซุปร้อนๆมาให่ด้วย ซดเลยคั้บ ผลคือลวกปาก ลวกลิ้นอะ มันเลยชาๆ ผมเลยคิดว่าอาการปกติ ก็กินของร้อนๆนิ มันก็ต้องลวกลิ้นเป็นธรรมดา ใช่มั้ย ตายังเขม่นไม่หาย ทั้งที่หวยออกไปแล้ว

ตกเย็น อาบน้ำใช้โฟมล้างหน้า ความรู้สึกผมคิดว่าโฟมคงเข้าตา ตาข้างซ้าย จ้างที่เขม่น มันเลยแสบ โฟมคงจะทำในน้ำในตาผมแห้ง ทำให้แสบตา ก็ยังไม่คิดมากคั้บ ช่วงนั้น คิดว่า เราคงมีอาการตาเขม่น บวกกับโฟมล้างหน้าที่เข้าตา เลยทำให้ตาเจ็บ แถมลิ้นยังมาชาเพราะน้ำซุปข้าวมันไก่อีก

แล้วเมื่อวานนี้ตอนเช้า เข้าไปอาบน้ำ อยากจะกี๊สให้ห้องน้ำแตก ตอนแปรงฟันมันต้องอมน้ำแล้วบ้วนปากใช่มั้ย เป็นเรื่องคั้บ ผมรู้สึกว่ามุมปากข้างซ้ายกับขวาทำงานไม่เท่ากัน เหมือนมันทะเลาะกันคั้บ ปากผมอมน้ำไม่อยู่ ปากรั่ว (ผีเจาะปาก) เอาเลยทีนี้ มาส่องกระจก ถ้าทำหน้าเฉย มองกระจกแบบไม่ต้องเก็ก หน้าตายังปกติ แต่พอลองแสยะยิ้ม ลองอ้าปาก กว้างๆๆๆ เห็นชัดเลย ปากผมเบี้ยว............

ตอนนี้ ตาข้างซ้ายผมไม่กระพริบ เหมือนมันค้าง ทำให้แสบตามาก (ปกติตาคนเราจะกระพริบเองถี่ๆโดยอัติโนมัติ) พูดง่ายๆคือปิดตาไม่สนิท นั่นทำให้โฟมเข้าตาข้างซ้ายจนแสบ ลิ้นชา แต่การรับรู้รสปกติ แต่ผมไม่สามารถดูดน้ำจากหลอดดูดได้ ดูดได้แต่ต้องใช้พละกำลังมหาศาล เพราะกล้ามเนื้อปากข้างซ้ายรั่ว ไม่ทำงาน

หลังจากที่รู้ว่าใบหน้าผมมีอาการผิดปกติ หน้าชา คล้ายอัมพฤกครึ่งหน้า เมื่อคืนเลยลองหาข้อมูลดู ผลที่คาดว่าจะเกี่ยวข้อง คือ เส้นประสาทคู่ที่ 7 บกพร่อง

จากการค้นหาข้อมูล

1 http://sawangpattaya.org/sawangschool/index.php?topic=281.0



จากการค้นหาข้อมูลของผม เขาบอกไว้ว่า อาการนี้95%จะหายไปเองใน 2-3สัปดาห์ ถ้าไม่หายต้องผ่าตัด ทำกายภาพบำบัด

สิ่งที่กังวลตอนนี้คือ ผมจะปากเบี้ยวไปอีกนานแค่ไหน

วันจันทร์ถ้ายังไม่หายจะโดดงานไปปรึกษาหมอที่ศิริราชคั้บ แล้วจะมาแจ้งความคืบหน้าให้ทราบนะคั้บ

อยู่ดีดี ปากก็เบี้ยว เขม่นตาซ้ายแล้วมีลาภตรงไหนนี่ เซ็ง

ผมมีอาการผิวหนังแพ้ อย่างรุนแรง

Posted on by Athi's PHA

ช่วงสงกรานต์เดือนเมษายน 2553 ผมไปเล่นสาดน้ำ เล่นดินสอพองคั้บ แล้วผิวหนังผมมีอาการเหมือแพ้อะไรซักอย่าง ไม่แน่ใจว่าใช่ดินสอพอหรือเปล่า ตอนแรกจะคันมากคั้บ แต่ก็ไม่ได้เกานะ ต่อมาตรงที่คันจะกลายเป็นปื้นสีแดง วงใหญ่เล็ก ปนกัน แล้ววันที่สาม ตรงที่เป็นปื้นจะเป็นรอยใหม้คั้บ ดำเลย บางที่พองน้ำ

แต่มันแปลกที่ ที่ปากก็เป็น ริมฝีปากบนจะเป็นคล้ายๆรอยใหม้ ส่วนริมฝีปากล่างจะแตกเป็นแผลเปื่อย ทรมานมาก ที่สำหรับ น้องหนูของผมก็มีอาการคล้ายริมฝีปากล่างด้วย มีลักษณะเป็นแผลเปื่อยอ่ะ แสบมาก


รอยแผลที่ปาก ริมฝีปากบนเป็นรอยใหม้ ริมฝีปากล่างเป็นแผลเปื่อย
แผลเป็นรอยใหม้ที่ข้อศอกด้านซ้าย

แผลบริเวณนิ้ว ง่ามนิ้ว



เป็นรอยใหม้แล้วก็พองด้วย
ตั้งแต่เกิดมา ผิวหนังผมหนามาก เพิ่งมีครั้งนี้คั้บ ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง สงสัย HIV เริ่มทำลายภูมิคุ้มกันผมไปมากแล้วแน่เลย
ตอนนี้ อาการหายแล้ว ยังเหลือรอยแผลเป็น ยังไม่หายดี
ปล.ผมจะคันมากช่วงที่มีอาการร้อนอบอ้าว และคันตอนผมมีเหงื่ออก ด้วย เหมือนจะแพ้เหื่อตัวเอง ดังนั้น พอผมร้อนปุบก็ต้องรีบไปอาบน้ำทาแป้งเลย ไม่ปล่อยให้เหงื่อออก เดี๋ยวมันจะคัน แล้วเป็นแผลอีก





ผล CD4 ครั้งที่ 2

Posted on by Athi's PHA

CD4 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2553
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ไปหาหมอ ไม่ว่างเลย ไม่ได้พักผ่อนด้วย
CD4 347 9%

ช่วงนี้นอนดึก ร้อนใน เป็นแผลในปากบ่อย

Posted on by Athi's PHA

ช่วงนี้นอนดึก ร้อนใน เป็นแผลในปากบ่อย

Posted by Athi on Wednesday, November 25, 2009
ช่วงนี้นอนดึก หลังตีหนึ่งทุกวันเลย สงสัยพักผ่อนน้อยมั่ง ร้อนในด้วย อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ปากเป็นแผลเลย เริ่มแสบ คนยิ่งเบื่อๆอาหารอยุ่ ยิ่งไม่อยากกินเลย ตอนนี้นำหนักลดหนึ่งกิโลอ่ะ เซ็ง แสบปาก

ผมเริ่มเบื่ออาหาร

Posted on by Athi's PHA

ผมเริ่มเบื่ออาหาร

Posted by Aids HIV on Monday, September 21, 2009
ไม่รู้สิคั้บ สามสี่วันมานี้ ผมรู้สึกไม่อยากกินข้าวเลย มันเบื่อๆ ที่กินอยุ่ทุกวัน ก้กินเพราะต้องกินยาป้องกันโรคแทรกซ้อนเท่านั้นเอง ผมรู้สึกว่าผมผอมลงด้วยนะ แต่น้ำหนักยังเท่าเดิม 54 กก

หรืออาจจะเป็นเพราะผมอยู่บ้านเช่าคนเดียว สันดานผมเป็นคนขี้เกียจอยู่แล้ว ต้องมีคนมาประเคนให้ถึงปากถึงจะกิน ขี้เกียจลุกไปซื้อกับข้าวมากิน ตลาดอยุ่ไกล อากาศมันร้อนนนนนนนนนนนนน

แต่หลังจากกลับจากวิ่ง ผมจะกินน้ำเกลือแร่ตลอด ทำให้กินข้าวเย็นไม่ค่อยได้ ข้าวเช้าจะกินก็นู้น 10 โมง

ไม่รุ้ต้องหาอาหารเสริมมากินเพิ่มดีหรือเปล่า


ตอนนี้ที่กังวล ก็คงจะมีเรื่องต่อมน้ำเหลืองตรงก้านคอที่มันยังบวมๆเวลาคลำดู กลัวคนสังเกตุเห้นคั้บ













ผล X-ray ปอด

Posted on by Athi's PHA

ผล X-ray ปอด

Posted by Athi on Tuesday, August 4, 2009
/ Comments: (0)
วันนี้ไปฟังผลมา ปกติ ไม่ได้เป็นมะเร็ง ไม่ได้เป็นวัณโรค ดีใจคั้บ ลุ้นอยู่ กลัวจะเป็นวัณโรค พอดียากันโรคแทรกซ้อนหมด ก็เลยรับมาทีเดียวเลย ต้องไปรับยามากินทุกเดือน อีกหกเดือนไปตรวจเลือดกันอีกรอบ ตอนนี้สิงหา เดือนมีนา ปีหน้า อ่ะต้องไปตรวจอีกที














ผล CD4 ครั้งที่ 1

Posted on by Athi's PHA

cd 4 ครั้งแรก 31 กรกฏาคม 2552


327 11%















วันนี้ผมอยู่กับมันครบ 24 ชั่วโมงแล้ว

Posted on by Athi's PHA

วันนี้ผมอยู่กับมันครบ 24 ชั่วโมงแล้ว

Posted by Athi on Thursday, July 2, 2009
Labels: aids, เป็นเอดส์แล้วผมจะตายมั้ย, เมื่อผมติดเชื้อ HIV วันนี้ไปตรวจรอบสองที่ สธ.3บางซื่อ



หลังจากได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆในบอร์ด http://www.pha.narak.com/ (บ้านฟ้า) ว่าให้ไปพบหมอเพื่อรับการตรวจอย่างจริงจัง มีหลายที่ที่เพื่อนๆแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นชั้นสาม ของโรงบาลกรุงเทพคริสเตียน ย่านสีลม และที่ สาธารณสุข 3 เขตบางซื่อ ผมเลือกไปที่บางซื่ิอคั้บ เพราะน่าจะคนไม่เยอะ ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย

ตื่นเต้นคั้บ ตอนโดนดูดเลือด อิอิ หน้ามืด จะเป้นลม เพราะผมเป็นคนกลัวเข็มฉีดยาอยู่แล้ว ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ ดีที่พี่พยาบาลใจดี ให้กำลังใจดี เลยรอดมาได้ ผลคร่าวๆยังเป็นบวกเหมือนเดิมคั้บ ตอนนี้เริ่มทำใจได้บ้างแล้ว คาดว่าอีกไม่นาน ผมคงจะยอมรับและอยุ่ร่วมกับมันได้อย่างปกติสุข(แต่ต่างคนต่างอยู่ก็ดีนะ กูไม่อยากให้มึงมาอยุ่กับตัวกูเลย ไอ้หน้าด้าน ไอ้หน้าส้นตีน กูไม่น่าให้มึงมาอยุ่กะกุเลย ติดกูแจเลยนะมึง)


1 Co-trimaoxazole Tab แบคทริม ยาป้องกันโรคแทรกซ้อน

2 Vitamin -B1-6-12

หมอให้ยาสองอย่างมากินคั้บ มียาป้องกันโรคแทรกซ้อน กะวิตามิน เพราะต่อมน้ำเหลืองที่คอมันโตอ่ะ












วันนี้ไปตรวจเลือดมา ผลคือ Positive

Posted on by Athi's PHA





เขียนเมื่อวันที่ 1 กรฏาคม 2552


ไม่รู้สินะ มันมึน มันงง มันเคว้งๆยังงัยไม่รู้

ตอนนี้คิดอะไรไม่ออกเลย
Anti-HIV Positive


มันขึ้นสองขีด หมอบอก ติดชัวร์ -.-"

เตรียดจัง พยามยามนอนกลางวันแล้ว แต่ก็นอนไม่หลับ มีนสับสนไปหมด ทั้งๆที่เตรียมใจไว้แล้ว ว่าเรามีโอกาสเสี่ยงจะติดเชื่้อ แต่เราเองก็ยังประมาทเกินไป

ตอนนี้ผมไม่รุ้จะคุยกับใครดี ไม่รุ้จะคุยอะไร ไม่รู้จะคุยยังงัย
ยิ่งตอนนี้ผมไม่มีงานทำเป้นหลักแหล่ง ไม่มีรายได้ มีเวลาว่าง ทำให้คิดฟุ้งซ่านมากกกกกกกกกกกกกกกก
เห็นเหล็กดัดของหน้าต่างแล้ว อยากผูกคอตาย แต่กลัวหายใจไม่ออก อยากหาวิธีการตายแบบไม่ทรมาน ประมาณว่าหลับแล้วไหลตายไปเลย

ตอนนี้สับสนมากคั้บ สับสนจริงๆ

ไม่คิดเลยว่า เข้ามาอยู่ กทม. เพียง 1 ปี มันจะทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไป

ตอนที่เห็นตัวหนังสือสีแดง Posittive บนใบผลตรวจเลือด ผมอึ้งๆ ทำอะไรไม่ถูก ไม่รุ้ตอนนั้นผมจะหน้าซีดหรือปล่าว ไม่มีกระจกส่องดูเลย

เพราะมัวแต่เครียดเรื่องหมอเอาเข็มจิ้มนิ้วเอาเลือดไปตรวจ เพราะผมเป็นคนกลัวเข้มฉีดยา
ตอนเดินออกมาจากคลีนิค ตัวเบามาก ผมไม่รู้ว่าขึ้นรถเมล์ตั้งแต่เมื่อไหร่ สมองบอกให้ผมเดินไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ รถเมลล์มาก็โบก

ผมจะบอกที่บ้านยังงัยดี

ผมจะบอกคนไกล้ตัวยังงัยดี

มันทั้งกลัว มันทั้งอาย มันสับสนไปหมดแล้ว

ใครก็ได้ช่วยผมที ผมอยากมีเพื่อน ผมอยากพูด อยากคุย แต่ไม่รู้จะระบายยังงัยดี ผมไม่รู้จะหันหน้าเข้าหาคัย
คงได้แต่เข้าไประบายในเว็บบอร์ดของกลุ่มคนที่มีเชื้อ HIV ในร่างกาย ซึ่งบัดนี้ มี ผม รวมอยุ่ด้วยอีก หนึ่งคน

ผมจะทำยังงัยต่อไปดีคั้บ












ถ้าผมออนอยู่ทักมาได้นะ

msn : athipha[@]windowslive.com