การให้คำปรึกษาแนะนำผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ

Posted on วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 by Athi's PHA

เมื่อมีการติดเชื้อเอดส์ในร่างกาย ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ได้โดยยังไม่มีอาการของโรคหรือตายจากโรคทันที สามารถ

จะทำงาน มีกิจกรรมที่เหมาะสมได้ตามปกติ แต่ควรได้รับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อดำเนินไปสู่ระยะที่

รุนแรงขึ้น และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การที่ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่กับการติดเชื้อเอดส์อย่างมีสุขภาพดี

ประกอบด้วย



1.การยอมรับความจริงว่ามีการติดเชื้อเอดส์ในร่างกาย

2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์

3.การดูแลรักษาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์

4.หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

5.ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

6.การมีกำลังใจและสามารถเผชิญปัญหาอย่างมีสุขภาพจิตดี



ผู้ติดเชื้อเอดส์ควรได้รับคำแนะนำทั่วไปเพื่อส่งเสริมและดูแลรักษาสุขภาพ กาย ใจ และสังคม ดังนี้



1.การส่งเสริมสุขภาพตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ควบคุมและรับผิดชอบตนเอง โดยมีกิจกรรมในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเอง และได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ชุมชนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเป็นการประคับประคองทางด้านจิตใจ อารมณ์ โดย



•สร้างความหวังและกำลังใจ การมีความหวังและกำลังใจจะช่วยกระตุ้นการทำงานและระบบภูมิคุ้มกัน

ที่ทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น การดำเนินโรคไปสู่ระยะที่รุนแรงจะช้าลง และยังเพิ่ม

ความอดทนพร้อมที่จะเผชิญต่อความเจ็บป่วยได้มากขึ้น

•ขจัดความเครียด หรือความวิตกกังวลของตนเเองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การอ่านหนังสือ การฟังดนตรี

การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอกสถานที่ การพูดคุยกับเพื่อนฝูง การทำงานอดิเรกที่พึงพอใจ

การสวดมนต์ทำสมาธิ จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อผ่อนคลายและมีสติดีขึ้น

•พักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้มีสุขภาพดี มีพลังสำรองที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยงแปลง และชลอการดำเนินของ

โรคให้ช้าลง

•ทำกิจกรรมเพื่อสังคม จะช่วยให้ชีวิตมีคุณค่าขึ้น เป็นประโยชน์ต่อสังคมช่วยให้สังคมยอมรับ และเป็นการช่วย

เหลือประคับประคองซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้ติดเชื้อเป็นการให้กำลังใจ สร้างความเชื่อมั่นและร่วมมือในการ

ป้องกันแพร่กระจายโรคได้ดี

•ครอบครัวและญาติพี่น้อง มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อ จะช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอดส์ดีมาก เนื่องจาก

ครอบครัวมีความรัก ความผูกพัน การเข้าใจปัญหาและจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้อื่น แต่เนื่องจาก

ผู้ติดเชื้อมักมีอารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย ครอบครัวจึงต้องเข้าใจเห็นใจและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

นั้น ๆ อย่างมั่นคง

•วางแผนการดำเนินชีวิตในช่วงต่อไปอย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองครอบครัวและสังคม เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอดส์ยัง

สามารถทำงานและมีกิจกรรมได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ป้องกัน

การติดเชื้อเพิ่มขึ้นและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น ในระยะแรกที่ผู้ติดเชื้อยังไม่สามารถจะตัดสินใจและ

วางแผนการดำเนินชีวิตได้ครอบครัวและผู้ใกล้ชิดที่ได้รับความไว้วางใจจะเป็นผู้ที่ให้กำลังใจ สร้างความมั่นคง

ทางอารมณ์ ช่วยหาแนวทางในการแก้ปัญหา และร่วมกันในการวางแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวใน

ระยะต่อไป

•ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ ทั้งจากสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ บุคลากรทางสุขภาพ สื่อต่าง ๆ จะช่วยให้

ผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าใจและสนใจที่จะดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

•สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อน

ควรรีบมาตรวจรักษา



2.การส่งเสริมให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการรับเชื้อเพิ่มขึ้น และป้องกันการกระจายเชื้อสู่ผู้อื่น โดย



•มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

•ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

•งดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ

•หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

•หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา ของมีคมหรือบริการที่จะมีบาดแผล สัมผัสเลือดกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ

แปรงสีฟัน การฝังเข็ม เจาะหู การสักผิวหนัง

•งดบริจาคโลหิต

•ไม่ควรให้มีการตั้งครรภ์ เพราะทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นโรค







0 Responses to "การให้คำปรึกษาแนะนำผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ":

ถ้าผมออนอยู่ทักมาได้นะ

msn : athipha[@]windowslive.com